วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงงาน

เรื่อง ชาใบหม่อน
คณะผู้จัดทำ
1. นายณัฐวุฒิ กริมรัมย์ ชั้น ม.6/1 เลขที่ 4
2. นายวิษณุ รักษา ชั้น ม.6/1 เลขที่ 10
3. นายประกิต โพธิมาศ ชั้นม.6/1 เลขที่ 36
4. นายเอกลักษณ์ ลอดสุโข ชั้นม.6/1 เลขที่ 37

5. นายศิริพงษ์ อาญาเมือง ชั้นม.6/1 เลขที่ 38

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. อาจารย์อมฤทธิ์ บุพโต
2. อาจารย์ธนกร เนียมไธสง
อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ อาจารย์ รตนัตตยา จันทนะสาโร

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ หม่อนเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ใบหม่อนนอกจากใช้เลี้ยงไหมแล้วยังใช้ประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด ทั้งนี้เพราะว่าใบหม่อน สามารถช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารและมีสรรพคุณทางด้านโภชนาการ เนื่องจากมีโปรตีนและแร่ธาตุต่าง ๆ สูง (ประทีปและคณะ, 2528) นอกจากนี้ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีการนำใบหม่อนมาใช้ในการประกอบอาหารเสริมสุขภาพ และใช้เป็นพืชสมุนไพร ตั้งแต่สมัยโบราณ
จากการรายงานการศึกษาวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า ใบหม่อนมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคเบาหวานช่วยลดคลอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงมีการผลิตชาจากใบหม่อนเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากหม่อนเป็นพืชปราศจากสารพิษ และเป็นที่รู้จักของชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลาช้านาน พบว่า หม่อนมีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวมสูงกว่าชา อาทิ แคลเซี่ยม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินซีสามารถทำชาได้

การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

1. เพื่อการศึกษาเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ
2. เพื่อเรียนรู้เรื่อง สรรพคุณต่างๆของใบหม่อน
3. เพื่อเกิดการประยุกต์ใช้ใบหม่อนที่มีอยู่ตามท้องถิ่น
4. เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเองโดยใช้ใบหม่อน

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

จากการศึกษาสมุนไพรกับสุขภาพซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราเพราะทุกคนมักจะมีความสนใจเรื่องสุขภาพ มักจะหาอะไรมารับประทานเพื่อสุขภาพให้ตัวเองมีสุขภาพแข็งแรง แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากแต่ก็ยอมแลก หลังจากที่คณะผู้จัดทำได้เรียนรู้เรื่องใบหม่อน ได้เล็งเห็นว่าควรจะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในด้านสุภาพ ซึ่งทำง่ายและมีความปลอดภัยเพราะเราทำด้วยพืชธรรมชาติ ซึ่งก็มีสรรพคุณเฉพาะตัว ด้วยเหตุผลข้างต้นคณะผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้น

ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้า

- สถานที่ โรงเรียนภัทรบพิตร ( ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเคมี )
- ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 (ส่งงาน 10 กันยายน 2552)

สมมติฐาน

ผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนที่ทำขึ้นนั้นจะมีกลิ่นหอมของใบหม่อน ใช้แล้วช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล สาร Phytosterol เป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด โดยยับยั้งสามารถารดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้
สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือด สารที่เรียกว่าดีอ๊อกซิโนจิริมายซิน ซึ่งมีอยู่ 0.1% ซึ่งสารนี้จนกระทั่งปัจจุบันจะพบเฉพาะในใบหม่อนเท่านั้น ซึ่งมีผลในการยับยั้งการทำงาน ของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำตาล และชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ ซึ่งมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
ลดความดันโลหิต สาร Gamma-amino butyric acid ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต
สามารถช่วยบำรุงร่างกาย นอกจากมีสารที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์แล้ว ยังพบว่าในการวิเคราะห์ชาเขียวจาก ใบหม่อนพบแร่ธาตุต่าง ๆ และโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรต้น ใบหม่อน
2. ตัวแปรตาม -
3. ตัวแปรควบคุม จำนวนของใบหม่อน

อุปกรณ์

1. ใบหม่อนสด
2. วัตถุอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่
2.1 หม้อ ขนาดประมาณ 16"-18"
2.2 กระทะ ขนาดประมาณ 24"-28"
2.3 มีด
2.4 เขียง
2.5 เตาแก๊ส
2.6 ผ้าขาว
2.7 กระชอน หรือ (ใช้สวิงแทน)
2.8 ทัพพี

วิธีการทดลอง


ใช้ใบหม่อนสด ได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ มีขั้นตอนการทำดังนี้
1. คัดใบหม่อนที่ไม่มีคุณภาพออก เช่น ใบเหลือง ใบเป็นโรค หรือมีสิ่งเจือปน

2. หั่นใบหม่อนให้มีขนาดประมาณ 0.5x4.0 เซนติเมตร ตัดก้านใบออก
3. ลวกน้ำร้อน 20-30 วินาที หรือนึ่งประมาณ 1 นาที
4. ถ้าลวกในน้ำร้อน จุ่มน้ำเย็นทันที ผึ่งลมให้แห้งหมาด ๆ

5. คั่วในกระทะด้วยไฟอ่อน ประมาณ 20 นาที สามารถเก็บไว้ดื่มได้นาน

ผลการทดลอง

ได้ชาใบหม่อนที่หอมกลิ่นแบบธรรมชาติเหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง

สรุปผลการทดลอง

• ลดระดับคอเลสเตอรอล สาร Phytosterol เป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด โดยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้
• ลดน้ำตาลในเลือด สารที่เรียกว่าดีอ๊อกซิโนจิริมายซิน ซึ่งมีอยู่ 0.1% ซึ่งสารนี้จนกระทั่งปัจจุบันจะพบเฉพาะในใบหม่อนเท่านั้น ซึ่งมีผลในการยับยั้งการทำงาน ของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำตาล และชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ ซึ่งมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
• ลดความดันโลหิต สาร Gamma-amino butyric acid ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต
• บำรุงร่างกาย นอกจากมีสารที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์แล้ว ยังพบว่าในการวิเคราะห์ชาเขียวจาก ใบหม่อนพบแร่ธาตุต่าง ๆ และโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

- สามารถนำชาใบหม่อนที่เราทำมาชงดื่ม ช่วยให้ความดันโลหิตลดลง
- มีความคิดสร้างสรรค์นำพืชที่เกิดขึ้นที่ในท้องถิ่นมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์
- มีความสามัคคีในกลุ่มการทำงาน
- มีตราสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง

ข้อเสนอแนะ

วิธีชงชาที่ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
1. ใช้น้ำร้อนลวกภาชนะชงชา เพื่อให้กาน้ำชาและถ้วยน้ำชาชุ่มชื่น ช่วยฆ่าเชื้อโรค และดับกลิ่นต่าง ๆ
2. ใส่ชาในปริมาณที่พอเหมาะ
3. เทน้ำร้อนลงในกาน้ำชาให้เต็ม แล้วรีบเทน้ำทิ้งอย่าแช่ทิ้งไว้นาน (ชาน้ำแรกเททิ้ง)
4. เทน้ำร้อนลงในกาน้ำชาอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที
5. รินน้ำชาในถ้วยแต่ละถ้วยให้หมดกา แล้วยกเสิร์ฟ เมื่อต้องการดื่มชาเพิ่มให้เติมน้ำร้อนลงในกาอีกครั้ง ทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วยกเสิร์ฟ ใหม่

อ้างอิง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pandayokie&group=3&month=09-2009&date=09