วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงงาน

เรื่อง ชาใบหม่อน
คณะผู้จัดทำ
1. นายณัฐวุฒิ กริมรัมย์ ชั้น ม.6/1 เลขที่ 4
2. นายวิษณุ รักษา ชั้น ม.6/1 เลขที่ 10
3. นายประกิต โพธิมาศ ชั้นม.6/1 เลขที่ 36
4. นายเอกลักษณ์ ลอดสุโข ชั้นม.6/1 เลขที่ 37

5. นายศิริพงษ์ อาญาเมือง ชั้นม.6/1 เลขที่ 38

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. อาจารย์อมฤทธิ์ บุพโต
2. อาจารย์ธนกร เนียมไธสง
อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ อาจารย์ รตนัตตยา จันทนะสาโร

บทคัดย่อ

โครงงานเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ หม่อนเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ใบหม่อนนอกจากใช้เลี้ยงไหมแล้วยังใช้ประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด ทั้งนี้เพราะว่าใบหม่อน สามารถช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารและมีสรรพคุณทางด้านโภชนาการ เนื่องจากมีโปรตีนและแร่ธาตุต่าง ๆ สูง (ประทีปและคณะ, 2528) นอกจากนี้ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีการนำใบหม่อนมาใช้ในการประกอบอาหารเสริมสุขภาพ และใช้เป็นพืชสมุนไพร ตั้งแต่สมัยโบราณ
จากการรายงานการศึกษาวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า ใบหม่อนมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคเบาหวานช่วยลดคลอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงมีการผลิตชาจากใบหม่อนเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากหม่อนเป็นพืชปราศจากสารพิษ และเป็นที่รู้จักของชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลาช้านาน พบว่า หม่อนมีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวมสูงกว่าชา อาทิ แคลเซี่ยม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินซีสามารถทำชาได้

การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

1. เพื่อการศึกษาเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ
2. เพื่อเรียนรู้เรื่อง สรรพคุณต่างๆของใบหม่อน
3. เพื่อเกิดการประยุกต์ใช้ใบหม่อนที่มีอยู่ตามท้องถิ่น
4. เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเองโดยใช้ใบหม่อน

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

จากการศึกษาสมุนไพรกับสุขภาพซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราเพราะทุกคนมักจะมีความสนใจเรื่องสุขภาพ มักจะหาอะไรมารับประทานเพื่อสุขภาพให้ตัวเองมีสุขภาพแข็งแรง แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากแต่ก็ยอมแลก หลังจากที่คณะผู้จัดทำได้เรียนรู้เรื่องใบหม่อน ได้เล็งเห็นว่าควรจะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในด้านสุภาพ ซึ่งทำง่ายและมีความปลอดภัยเพราะเราทำด้วยพืชธรรมชาติ ซึ่งก็มีสรรพคุณเฉพาะตัว ด้วยเหตุผลข้างต้นคณะผู้จัดทำจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้น

ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้า

- สถานที่ โรงเรียนภัทรบพิตร ( ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเคมี )
- ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 (ส่งงาน 10 กันยายน 2552)

สมมติฐาน

ผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนที่ทำขึ้นนั้นจะมีกลิ่นหอมของใบหม่อน ใช้แล้วช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล สาร Phytosterol เป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด โดยยับยั้งสามารถารดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้
สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือด สารที่เรียกว่าดีอ๊อกซิโนจิริมายซิน ซึ่งมีอยู่ 0.1% ซึ่งสารนี้จนกระทั่งปัจจุบันจะพบเฉพาะในใบหม่อนเท่านั้น ซึ่งมีผลในการยับยั้งการทำงาน ของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำตาล และชะลอการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ ซึ่งมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
ลดความดันโลหิต สาร Gamma-amino butyric acid ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต
สามารถช่วยบำรุงร่างกาย นอกจากมีสารที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์แล้ว ยังพบว่าในการวิเคราะห์ชาเขียวจาก ใบหม่อนพบแร่ธาตุต่าง ๆ และโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรต้น ใบหม่อน
2. ตัวแปรตาม -
3. ตัวแปรควบคุม จำนวนของใบหม่อน